messager
check_circle ประชากรและสภาพทางสังคม
ประชากร
1) ตารางจำนวนประชากรย้อนหลัง 8 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2553 – 2560 ) ปี พ.ศ. จำนวนประชากร รวม (คน) จำนวนครัวเรือน หมายเหตุ ชาย (คน) หญิง (คน) พ.ศ. 2553 6,102 6,088 12,190 2,685 เพิ่มขึ้น 55 คน พ.ศ. 2554 6,124 6,108 12,232 2,741 เพิ่มขึ้น 42 คน พ.ศ. 2555 6,164 6,132 12,296 2,810 เพิ่มขึ้น 64 คน พ.ศ. 2556 6,197 6,126 12,323 3,095 เพิ่มขึ้น 27 คน พ.ศ. 2557 6,201 6,122 12,323 3,172 เพิ่มขึ้น 0 คน พ.ศ.2558 6,214 6,148 12,362 3,173 เพิ่มขึ้น 39 คน พ.ศ.2559 6,252 6,142 12,394 3,224 เพิ่มขึ้น 32 คน พ.ศ.2560 6,302 6,169 12,471 3,298 เพิ่มขึ้น 77 คน ข้อมูลจาก : ระบบสถิติทางการทะเบียน, 2560 จากตาราง จะเห็นได้ว่า จำนวนประชากรตำบลคำเตย มีจำนวนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่สูงนัก แสดงให้เห็นว่า ประชากรส่วนใหญ่มีการศึกษามีความรู้ที่ดีขึ้น จึงสามารถวางแผนการคุมกำเนิดควบคุมจำนวนประชากรได้ ซึ่งใน อนาคตมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ จะต้องมีการส่งเสริมและให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อวางแผนการเพิ่มอัตราการเกิดของจำนวนประชากรในอัตราที่เหมาะสมไม่ให้มากเกินไปและไม่ให้น้อยเกินไปเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาตำบลต่อไป 2) จำนวนประชากรตำบลคำเตยประจำปี พ.ศ. 2560 แยกตามรายหมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร ชาย (คน) ชาย (คน) รวม (คน) 1 บ้านหนองดินแดง 158 256 291 547 2 บ้านโพนสวรรค์ 150 301 297 598 3 บ้านวังไฮ 150 326 297 623 4 บ้านคำเตย 286 501 427 928 5 บ้านคำเตย 229 493 445 938 6 บ้านคำเตย 230 316 306 622 7 บ้านโพนป่าหว้าน 139 279 286 565 8 บ้านทุ่งมน 241 451 465 916 9 บ้านดอนแดง 207 449 442 891 10 บ้านโพนค้อ 254 481 466 947 11 บ้านหนองยาว 163 317 324 641 12 บ้านหนองกุง 66 139 124 263 13 บ้านดอนแดง 194 357 357 714 14 บ้านเจริญทอง 204 427 397 824 15 บ้านดอนแดง 187 401 393 794 16 บ้านคำเตย 121 190 180 370 17 บ้านทุ่งมน 139 283 299 582 18 บ้านโพนสวรรค์ 172 335 373 708 รวม 3,298 6,302 6,169 12,471 ที่มา : ระบบสถิติทางการทะเบียน, 2560 3) ความหนาแน่นของจำนวนประชากร ความหนาแน่นของประชากร = (จำนวนประชากรทั้งหมด) = 12,471   (จำนวนพื้นทั้งหมด ) 98 ** ความหนาแน่นของประชากร ตำบลคำเตย 127.26 คน / ตารางกิโลเมตร ** 4) จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4.1) จำนวนผู้มิสิทธิเลือกตั้งตำบลคำเตย หน่วยเลือกตั้ง ชื่อหมู่บ้าน จำนวนประชากร ชาย (คน) หญิง (คน) รวม (คน) 1 บ้านหนองดินแดง หมู่ที่ 1 177 203 380 2 บ้านโพนสวรรค์ หมู่ที่ 2 222 242 464 3 บ้านวังไฮ  หมู่ที่ 3 226 224 450 4 บ้านคำเตย หมู่ที่ 4 347 323 670 5 บ้านคำเตย หมู่ที่ 5 352 346 698 6 บ้านคำเตย หมู่ที่ 6 236 249 485 7 บ้านโพนป่าหว้าน หมู่ที่ 7 182 205 387 8 บ้านทุ่งมน หมู่ที่ 8 333 358 691 9 บ้านดอนแดง หมู่ที่ 9 309 314 623 10 บ้านโพนค้อ  หมู่ที่ 10 350 336 686 11 บ้านหนองยาว  หมู่ที่ 11 236 247 483 12 บ้านหนองกุง  หมู่ที่ 12 89 87 176 13 บ้านดอนแดง  หมู่ที่ 13 251 264 515 14 บ้านเจริญทอง หมู่ที่ 14 263 279 542 15 บ้านดอนแดง หมู่ที่ 15 300 289 589 16 บ้านคำเตย  หมู่ที่ 16 133 134 267 17 บ้านทุ่งมน หมู่ที่ 17 202 214 416 18 บ้านโพนสวรรค์  หมู่ที่ 18 201 255 456 รวม 4,409 4,569 8,594 ที่มา : จากฝ่ายทะเบียนและบัตร อำเภอเมืองนครพนม ณ เดือน มิถุนายน 2559
สภาพทางสังคม
(1) การศึกษา มีโรงเรียน จำนวน ทั้งสิ้น 9 แห่ง แยกเป็น 1. โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองดินแดง โรงเรียนบ้านวังไฮ-หนองกุง โรงเรียนบ้านคำเตย โรงเรียนบ้านโพนป่าหว้าน โรงเรียนบ้านทุ่งมน โรงเรียนบ้านหนองดินแดง โรงเรียนบ้านโพนค้อโพนสวรรค์ โรงเรียนบ้านหนองยาว 2. โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนคำเตยอุปถัมภ์ (ม.1 - 6) 3. โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านดอนแดง ( อนุบาล – ม. 3 ) 4. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 8 แห่ง 5. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 18 แห่ง (2) สถาบันและองค์กรทางศาสนา 1. วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 14 แห่ง 2. ดอนปู่ตา จำนวน 7 แห่ง 3. สภาวัฒนธรรม จำนวน 1 แห่ง (3) บริการสาธารณสุข 1. สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 3 แห่ง คือ - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนแดงพื้นที่รับผิดชอบ คือ หมู่ที่ 9,13,14,15,7 - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำเตย พื้นที่รับผิดชอบ คือ หมู่ที่ 4,5,6,16,10,2,18 - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมน พื้นที่รับผิดชอบ คือ หมู่ที่ 8,17,11,12,1,3 (4) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - สถานีตำรวจชุมชนตำบลคำเตย จำนวน - แห่ง มีสมาชิกอาสาสมัครตำรวจชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 54 นาย - ศูนย์ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 1 แห่ง มีสมาชิก อปพร. จำนวนทั้งสิ้น 80 นาย - ศูนย์กู้ชีพตำบล / หนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ภัย (EMS/OTOS) จำนวน 1 แห่ง - มีรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์แบบดับเพลิงได้ ขนาด 210 แรงม้า ความจุ 6,000 ลิตร จำนวน 1 คัน - มีรถยนต์สำหรับกู้ชีพกู้ภัย 1669 จำนวน 1 คัน - มีรถบรรทุกขยะแบบเทอัดท้าย 6 ล้อ จำนวน 1 คัน - มีรถบรรทุกขยะ ขนาด 4 ล้อ จำนวน 1 คัน
ระบบบริการพื้นฐาน
(1) การคมนาคม การคมนาคมโดยรถโดยสารประจำทาง และรถยนต์ส่วนตัว เส้นทางคมนาคมมี 2 เส้นทางคือ เส้นทางที่ 1 ถนนสายหนองญาติ – นาแก เส้นทางที่ 2 ถนนสายนครพนม - ธาตุพนม เส้นทางการคมนาคม ประมาณ ร้อยละ 60 ยังเป็นถนนลูกรังโดยเฉพาะเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน (2) การสื่อสารและโทรคมนาคม - ที่ทำการไปรษณีย์(สาขาย่อย) จำนวน 1 แห่ง - โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน - แห่ง - เสารับสัญญาณโทรศัพท์ จำนวน 7 แห่ง (3) การไฟฟ้า ทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ แต่ยังไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะครัวเรือนที่สร้างใหม่ และไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ไฟฟ้าสาธารณะตามหมู่บ้าน ติดตั้งโดยการไฟฟ้าแต่ยังไม่ทั่วถึงครบทุกหมู่บ้าน
ระบบเศรษฐกิจ
(1) การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และบางส่วนประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ค้าขาย ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ รับราชการประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ (2) หน่วยงานธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย 1. ปั้มน้ำมันขนาดเล็กและก๊าซ 7 แห่ง 2. ปั้มหลอด 5 แห่ง 3. โรงสีข้าวขนาดเล็ก 45 แห่ง 4. ร้านอาหาร 12 แห่ง 5. ร้านค้า 66 แห่ง 6. สหกรณ์ร้านค้า/ ร้านค้าชุมชน 12 แห่ง 7. ร้านซ่อมรถ / อู่ซ่อมรถ 8 แห่ง 8. รถเร่ขาย 5 คัน 9. ร้านรับซื้อข้าวเปลือก 1 แห่ง 10. ร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง 3 แห่ง 11. ร้านผลิตถังขยะจากยางรถยนต์ 1 แห่ง 12. ร้านเสริมสวย 7 แห่ง 13. โรงเลี้ยงหมู 1 แห่ง 14.คลินิกหรือสถานบริการทางการแพทย์ 1 แห่ง
เศรษฐกิจพอเพียง (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
1 ข้อมูลด้านการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เช่น สวนยางพารา ไร่แตงโม ไร่ยาสูบ ทำนา เลี้ยงสัตว์ และการเกษตร อื่นๆ และมีจุดเด่นดังนี้ - เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ - ปริมาณน้ำฝน ฝนตกเฉลี่ย มากกว่า 2,000 ม.ม./ ปี - มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์ - ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการทำการเกษตรหลากหลาย - พืชเศรษฐกิจในพื้นที่ คือ ยางพารา 2 แหล่งน้ำธรรมชาติ 1) ลำห้วยที่สำคัญ มี 9 สาย ได้แก่ - ลำห้วยบังฮวก มีพื้นที่ครอบคลุม หมู่ที่ 7,1,13,4,5,6,16 - ลำห้วยชะโนด มีพื้นที่ครอบคลุม หมู่ที่ 2,18,10,4 - ลำห้วยยาง มีพื้นที่ครอบคลุม หมู่ที่ 12,3 - ลำห้วยขี้หมู มีพื้นที่ครอบคลุม หมู่ที่ 4,9,15 - ลำห้วยสายหนองแสง มีพื้นที่ครอบคลุม หมู่ที่ 9,13 - ลำห้วยวังหนามแท่ง มีพื้นที่ครอบคลุมหมู่ที่ 15 - ล้ำห้วยบ่อน้อย มีพื้นที่ครอบคลุมหมู่ที่ 14 - ลำห้วยกุดข้าวปุ้น มีพื้นที่ครอบคลุม หมู่ที่ 11 - ลำห้วยวังซุ่ง มีพื้นที่ครอบคลุม หมู่ที่ 11 2) บึง หนอง และอื่นๆ จำนวนมากกว่า 30 แห่ง 3 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น 1) ฝายน้ำล้น 10 แห่ง ได้แก่ - ฝายน้ำล้มป่าคำเดื่อ หมู่ที่ 1 - ฝายน้ำล้นห้วยยาง หมู่ที่ 3 - ฝายน้ำล้นห้วยขี้หมู หมู่ที่ 4 - ฝายน้ำล้นห้วยบังฮวก หมู่ที่ 7 - ฝายน้ำล้นหนองขามป้อม หมู่ที่ 8 - ฝายน้ำล้นล้ำห้วยชะโนด หมู่ที่ 10 - ฝายน้ำล้นคำตาสิงห์ หมู่ที่ 12 - ฝายน้ำล้นห้วยสามประก่อ หมู่ที่ 13 - ฝายน้ำล้นคำตาเปรม หมู่ที่ 14 - ฝายน้ำล้นบ่อน้อย หมู่ที่ 14 - บ่อน้ำตื้น 30 แห่ง - บ่อบาดาล บ่อตอก บ่อเจาะ 16 แห่ง - ประปาหมู่บ้าน 15 แห่ง ได้แก่ หมู่ที่ 2,3,5,6,7,8,9,11,12,13,14,15,16,17,18
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
1) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญของตำบลคำเตย ได้แก่ (1) งานประเพณีเลี้ยงปู่ตา วัดเก่าหัวบึง บ้านคำเตย ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 และขึ้น 10 เดือน 12 (2) งานประเพณีบุญบั้งไฟประจำหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – มิถุนายนของทุกปี (3) งานประเพณีบายศรีสู่ขวัญขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี เป็นการทำบุญกองข้าวหรือขวัญข้าว ซึ่งจะมีการผูกข้อต่อแขนผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน เพื่อขอพรให้อยู่ดีมีสุข (4) งานบุญมหาชาติหรือบุญพระเวสสันดร เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี เพื่อเป็น การระลึกถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จชาติเป็นพระเวสสันดร (5) งานบุญแจกข้าว จัดขึ้นเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว 2) ประวัติความเป็นมาของชาวไทกะเลิง ประชาชนดั้งเดิมของตำบลคำเตยเป็น “คนเผ่ากะเลิง” หรือ “ชาวไทกะเลิง” คำว่า “กะเลิง”มาจากคำว่า “ข่าเลิง” เป็นข่าพวกหนึ่ง อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ มอญ,เขมร, ข่า, กะโซ่ ภาษาพูดเป็นภาษาในตระกูลออสโตรอาเซียติค ชาวกะเลิง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแขวงคำม่วนและแขวงสุวรรณเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน เมื่อครั้งทำศึกปราบเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ ในสมัยราชกาลที่ 3 จึงได้อพยพเข้ามาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตามแนวเทือกเขาภูพาน ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด สกลนคร นครพนมและมุกดาหาร เช่น กลุ่มกะเลิงบ้านบัง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร อยู่บริเวณต้นน้ำอูน อาชีพดั้งเดิมของกลุ่มนี้จะทำไร่ภู มีข้าวไร่ พริก ฝ้ายและยาสูบ เป็นหลัก โดยข้าวของกะเลิงมี 2 ชนิดคือข้าวฮูด และข้าวฮ้าว ผู้ชายชาวกะเลิงโบราณ นิยมสักรูปนกที่แก้มและปล่อยผมยาวประบ่า ส่วนผู้หญิงเกล้าผมมวย ปัจจุบันผู้ชายกะเลิงที่สักขาลายขึ้นมาถึงบั้นเอว ยังคงมีหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น ในท้องที่ตำบลนาสะเม็ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร นอกจากนี้ยังมีชาวกะเลิงที่อำเภอคำชะอี เช่น ตำบลบ้านซ่งบางหมู่บ้าน ,ตำบลเหล่าสร้างถ่อบางหมู่บ้าน ,บ้านนาหลวง, บ้านโนนสังและบ้านภูฮี สำหรับชาวกะเลิงบ้านคำเตย นั้น จากคำบอกเล่าของพ่อใหญ่แหง ราชมา อายุ 74 ปี (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนอายุ 8 -9 ปี ท่านได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับขุนบริบูรณ์ ซึ่งเป็นอดีตผู้นำของชาวกะเลิงบ้านคำเตย ขณะที่ขุนบริบูรณ์มีอายุประมาณ 70 ปี เดิมชาวกะเลิงบ้านคำเตยอาศัยอยู่ที่บ้าน พีดกวนพัน ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศลาว ต่อมาได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาทำมาหากินที่บริเวณบ้านเก่าหัวบึง (ปัจจุบันคือที่ตั้งของดอนปู่ตา) เนื่องจากเห็นว่าบริเวณดังกล่าวมีทำเลเหมาะสมในการทำมาหากิน มีหนองน้ำขนาดใหญ่ ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ประหลาด มีฝูงมดตะโปตัวใหญ่(ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า“มดง่าม”) จำนวนมาก ออกมากัดกินสัตว์เลี้ยงและชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนและล้มตายเป็นจำนวนมาก ผู้นำหมู่บ้านจึงได้อพยพชาวบ้านที่เหลือ มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านคำเตยในปัจจุบัน ส่วนบ้านเดิม(บ้านเก่าหัวบึงหรือดอนปู่ตา)นั้นได้อนุรักษ์และมีความเชื่อกันว่าเป็นที่อยู่ของปู่ตา ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษคอยปกปักษ์รักษาให้ ชาวกะเลิง ได้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งยังคงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิที่ชาวกะเลิงให้การเคารพนับถือจนถึงปัจจุบัน การแต่งกายของชาวกะเลิง การแต่งกายของชาวกะเลิงบ้านคำเตย สมัยดั่งเดิมนั้น ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่มีตีน(เชิง) สวมเสื้อคอกลม มีแถบริมสีแดง กระดุมทำด้วยไม้ หรือกะลามะพร้าวนำมาขัดให้เป็นวงกลมขนาดเท่าเม็ดกระดุมหรือทำด้วยเงินสตางค์ ใช้แพรเบี่ยงโต่งในเวลามีงาน หากอยู่บ้านไม่สวมเสื้อ ปกตินิยมเปลือยหน้าอก ซึ่งเรียกว่า “ปละนม” ไว้ผมยาว และมวยผมหรือเกล้าผม สวมกำไลข้อมือ ข้อเท้า ตุ้มหูเงิน นิยมทัดดอกไม้ประเทืองผิวด้วยขมิ้น ทาหน้าด้วยกลอยและข้าวสาร ส่วนชายชาวกะเลิง แต่งกายเหมือนชาวอีสานทั่วไปคือนิยมสวมเสื้อหม้อฮ่อมสีน้ำเงินเข้ม กระดุมทำด้วยเงินสตางค์ กางเกงขาก๊วย ที่เอวมีเชือกผูกรัด นอกจากนี้ยังนิยมสักรูปนกน้อยไว้ที่แก้ม ดังผญาที่ว่า “สักนกน้อยงอยแก้มตอดขี้ตา สักนกน้อยงอยแก้มจั่งงาม ” ประเพณีความเชื่อของชาวกะเลิง ชาวกะเลิง มีความเชื่อความศรัทธาใน “ป่าช้า” หรือ “ดอนปู่ตา” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิที่ใช้ฝังศพของบรรพบุรุษ ชาวกะเลิงมีความเชื่อว่าในดอนปู่ตาจะมีผีบรรพบุรุษ คอยปกปักรักษาให้ชาวกะเลิง ได้อยู่เย็นเป็นสุข ทำให้ในแต่ละปีจะมีการประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษหรือที่ดอนปู่ตา ซึ่งชาวกะเลิงจะนำเอาไก่ที่ยังมีชีวิตไปเซ่นไหว้ครอบครัวละหนึ่งตัว พร้อมกับเหล้าขาว 1 ขวดเป็นเครื่องเซ่นไหว้ โดยจะมีเฒ่าจ้ำ นางเทียมเป็นผู้ทำพิธี ประวัติดอนปู่ตาตำบลคำเตย “ปู่ตา” ที่ชาวกะเลิงบ้านคำเตยมีความเชื่อว่าเป็นผีบรรพบุรุษที่คอยปกปักรักษาให้ชาวกะเลิงอยู่เย็นเป็นสุขนั้น มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อราวปี พ.ศ.1400 ที่ผ่านมา ครั้งเมื่อมีการก่อสร้างพระธาตุพนมซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานของพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ปู่ตา” หรือ“ปู่คำเหลือง” ซึ่งเป็นชาวเชียงของ อาศัยอยู่ในประเทศลาวในปัจจุบัน เมื่อได้ยินข่าวการก่อสร้างองค์พระธาตุพนม ด้วยความเคารพศรัทธา ปู่คำเหลืองพร้อมด้วยทหารองครักษ์ คือท้าวคำแดง ท้าวลมลัด ท้าวลมออน และใบ้ (ใบ้เป็นคนบังบด คือ คนธรรมดาไม่สามารถมองเห็นได้) ได้นำเอาทรัพย์สินเงินทองของมีค่า (เรือคำ 25 ขั้น ฆ้องทองคำ 9 กำ) บรรทุกเรือเพื่อนำไปถวายองค์พระธาตุพนม แต่ในระหว่างที่เดินทางมาถึงบ้านเก่าหัวบึงหรือดอนปู่ตาในปัจจุบันนั้น ได้ยินเสียงฆ้องปิดประตูพระธาตุพนมเสียก่อน จึงได้นำเงินทองของมีค่าที่จะนำไปถวาย พระธาตุพนมฝังดินไว้ที่ดอนปู่ตา หลังจากนั้น ปู่คำเหลืองพร้อมทหารองครักษ์ทั้งสี่ ก็เดินทางกลับเมือง เชียงของ เมื่อถึงแก่กรรมด้วยความรักและหวงแหนในทรัพย์สมบัติดังกล่าว ดวงวิญญาณของปู่คำเหลืองและทหารองครักษ์ทั้งสี่ จึงได้กลับมาเฝ้าปกปักรักษาอยู่ที่ดอนปู่ตา ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิที่ชาวตำบลคำเตยและชาวตำบลใกล้เคียงให้ความเคารพศรัทธาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ในแต่ละปีชาวกะเลิงบ้านคำเตย จะมีพิธีกราบไหว้บูชาปู่ตา โดยชาวบ้านจะนำเอาไก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ไปเซ่นไหว้ครอบครัวละ1ตัวพร้อมด้วยเหล้าขาว 1 ขวด นำไปเซ่นไหว้ปีละสองครั้ง ครั้งที่ 1 เรียกว่า “ไหว้ลง” จะทำพิธีในวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 เป็นการบอกเล่าให้ปู่ตาได้รับรู้ว่า ชาวบ้านเริ่มลงมือทำนาแล้ว ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ครั้งที่ 2 เรียกว่า “ไหว้ขึ้น” จะทำพิธีในวันขึ้น 10 ค่ำเดือน 12 เป็นการบอกเล่าให้ปู่ตาทราบว่าได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้วจึงได้นำเอาผลผลิต ที่ได้มาทำการเซ่นไหว้ปู่ตาเพื่อเป็นการตอบแทน โดยจะมีเฒ่าจ้ำและนางเทียมเป็นผู้ทำพิธีดังกล่าว ประวัติปู่ตา “ปู่คำเหลือง”เป็นเจ้าเมืองเชียงของประเทศลาวมีทหารองครักษ์สี่คนคือปู่คำแดง ปู่ลมลัด ปู่ลมออน และใบ้ “ปู่คำแดง” เป็นทหารเอกมีหน้าที่คอยเฝ้าดูแลอารักษ์ขาปู่คำเหลือง เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์สูง อยู่ยงคงกระพัน ฟันแทงไม่เข้า มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย “ปู่ลมลัด ปู่ลมออน” สองพี่น้องเป็นทหารองครักษ์ของปู่คำเหลืองเช่นกัน มีความสามารถในการเรียกลม เรียกฝนได้ เป็นคนใจดี ชอบช่วยเหลือคน “ใบ้” เป็นคนบังบด คนธรรมดาจะมองไม่เห็นตัว เป็นหนึ่งในทหารองครักษ์ของปู่คำเหลือง มีอิทธิฤทธิ์สาปให้คนเป็นใบ้ได้ ที่มา : สภาวัฒนธรรมตำบลคำเตย พ.ศ. 2547 และศูนย์ปฏิบัติการวัฒนธรรมชนเผ่าไทกะเลิงบ้านคำเตย ตำบลคำเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- ป่าไม้ในที่สาธารณะมีประมาณ 7,000 ไร่ - หินสวยงาม หมู่ที่ 2,4,5,10,14,18
ข้อมูลอื่น ๆ
(1) มวลชนจัดตั้ง - ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จำนวน 280 คน (2) แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบล ตำบลคำเตยมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ได้แก่ - ฝายน้ำล้นบ้านวังไฮ บ้านวังไฮ หมู่ที่ 3 - ดอนปู่ตาบ้านคำเตย บ้านคำเตย หมู่ที่ 5 - สำนักสงฆ์ดงมะไฟ บ้านคำเตย หมู่ที่ 6 (3) ประเด็นการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย ประเด็นการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย มี 8 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (2) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค (3) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน (4) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (5) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ (6) ด้านการพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร (7) ด้านการพัฒนาการเมือง การบริหาร (8) ด้านการพัฒนาการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น วาระท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย มีดังนี้ (1) พัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น (2) สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น (3) สร้างระบบการบริหารจัดการที่ดี